:: ประวัติโครงการ
กรมชลประทานได้ดำเนินการก่อสร้างโครงการชลประทานโดยมีอาคารชลประทาน
ในแม่น้ำชี - มูลและลำน้ำสาขาจำนวนมากและหลายโครงการครอบคลุมพื้นที่หลายจังหวัด
นอกจากนี้ในปีงบประมาณ 2546 กรมชลประทานได้รับการถ่ายโอนงานโครงการฝายใน
ลำน้ำและโครงการสูบน้ำต่างๆ ตลอดลำน้ำในแม่น้ำชี - มูล จากกรมพัฒนาและส่งเสริมพลัง
งาน(เดิม) มาอยู่ในความรับผิดชอบอีกจำนวนมาก
โครงการเหล่านี้ได้ถูกแยกส่วนรับผิดชอบให้กับชลประทานจังหวัดต่างๆ ทำให้การ
บริหารจัดการโครงการนำเนินการได้ไม่เป็นระบบ เพราะขาดการเกี่ยวข้องสัมพันธ์ซึ่งกัน
และกัน ทำให้เกิดปัญหาการบริหารจัดการแม่น้ำชี - มูล โดยเฉพาะอย่างยิ่ง โครงการใน
ลำน้ำชีตอนล่างและเซบายตอนล่าง ซึ่งเป็นพื้นที่รวมปลายน้ำในการกำกับดูแล ของสำนัก
ชลประทานที่ 7 เกิดการร้องเรียนเรื่องการบริหารจัดการฝายในลำน้ำ เกษตรกรเหนือ
ฝายต้องการกักเก็บไว้ใช้ในการอุปโภค-บริโภค จัดทำน้ำประปาเขตชุมชนเมืองและการ
เกษตรริมแม่น้ำ
ในฤดูแล้งช่วงที่เกษตรกรท้ายน้ำก็ต้องการเหมือนกันแต่ในช่วงฤดูฝนเกษตรกร
เหนือน้ำกลับต้องการระบายน้ำออกจากพื้นที่ ลงสู่แม่น้ำ เพื่อป้องกันอุทกภัยแก่เกษตรกร
จึงจำเป็นต้องมีการกำหนดผู้รับผิดชอบโครงการโดยตรงเพื่อดำเนินการบริหารจัดการน้ำ
รวมทั้งการซ่อมแซมบำรุงรักษาปรับปรุงโครงการโดยตรง เพื่อดำเนินการบริหารจัดการ
น้ำ รวมทั้งซ่อมแซมบำรุงรักษาปรับปรุงโครงการให้สามารถบริหารจัดการเป็นไปอย่างมี
ประสิทธิภาพสูงสุด ลดการขัดแย้งและประสานการใช้น้ำตลอดลำน้ำชี-มูลและสาขาอย่าง
มีรูปธรรม
เขื่อนยโสธร
ลุ่มน้ำ ลุ่มน้ำชี
ที่ตั้งโครงการ ม.6 บ้านหงส์ทอง ต.แสนสุข อ.พนมไพร จ.ร้อยเอ็ด
บ้านหนองหอย ต.เขื่องคำ อ.เมือง จ.ยโสธร
พิกัด 48 PVC 074393
ระวางแผนที่ 5840 III
ลักษณะโครงการ เขื่อนกั้นน้ำ บานระบาย ชนิด Radial gate
กว้าง12.50 ม. สูง 7.75 ม. จำนวน 8 บาน
องค์ประกอบอาคาร พื้นที่รับน้ำฝน 47,000 ตร.กม. ปริมาณน้ำท่าเฉลี่ย 6,750 ล้าน ลบ.ม/ป
ระดับสันฝาย +119,000 ม.รทก. ระดับเก็บกัก + 126,000 ม.รทก.
ปริมาณน้ำเก็บกัก 22.40 ล้าน ลบ.ม ความกว้างฐานคอนกรีต 114.00 ม.
ประตูเหล็กยกระดับชนิดบานเหล็กโค้ง (RADAIL GALE) ขนาด
(ยาว x สูง) 12.5x 7.75 ม. จำนวน 8 บาน คันดินกั้นน้ำความสูง 0 – 4 ม.
กว้าง 4 ม. ยาวประมาณ 30 กม. ระดับหลังคันดิน +128.00 ม.รทก.
สถานีสูบน้ำ จำนวน 3 สถานี ชนิดเครื่องสูบ Vertical Mixed Flow
- สถานี P1 อัตราสูบน้ำ 1.60 ลบ.ม./วินาที จำนวน 5 เครื่อง
คลองส่งน้ำสายใหญ่ 1 สาย คลองซอย 11 สาย คลองแยกซอย 9 สาย
- สถานี P5 อัตราสูบน้ำ 1.20 ลบ.ม./วินาที จำนวน 5 เครื่อง
คลองส่งน้ำสายใหญ่ 1 สาย คลองซอย 8 สาย คลองแยกซอย 4 สาย
- สถานี P6/1อัตราสูบน้ำ 1.65 ลบ.ม./วินาที จำนวน 5เครื่อง
คลองส่งน้ำสายใหญ่ 1 สาย คลองซอย 4 สาย คลองแยกซอย 5 สาย
พื้นที่ชลประทาน 84,000 ไร่
หมายเหตุ - ผลประโยชน์ที่ได้รับ ช่วยยกระดับน้ำและเก็บกักน้ำไว้ในลำน้ำชี
และลำน้ำสาขาเป็นระยะทาง 122 กม. เก็บกักน้ำได้ 22.40 ล้าน ลบ.ม.
จ่ายพื้นที่การเกษตรตามลำน้ำได้ประมาณ 159,794 ไร่ แบ่งเป็น สถานีสูบ
น้ำขนาดใหญ่ 84,400 ไร่ และแพสูบน้ำขาดเล็ก 75,394 ไร่ และเพื่อการ
อุปโภคบริโภค – บริโภค ของประชาชนตามลำน้ำชีและลำน้ำสาขาใน
ในเขตพื้นที่ จ. ร้อยเอ็ด และ จ. ยโสธร
เขื่อนธาตุน้อย
ลุ่มน้ำ ลุ่มน้ำชี
ที่ตั้งโครงการ ม.4 บ้านคำไฮ ต.ธาตุน้อย อ.เขื่องใน จ.อุบลราชธานี
พิกัด 8PVB 425919
ระวางแผนที่ 5839 I
ลักษณะโครงการ เขื่อนกั้นน้ำ บานระบาย ชนิด Radial gate กว้าง 12.50ม. สูง 7.50 ม. จำนวน 8 บาน
องค์ประกอบของโครงการ ระดับสันฝาย+ 109,200 ม.รทก. ระดับเก็บกัก +116.000 ม.รทก.
ปริมาณน้ำเก็บกัก 56.10 ล้าน ลบ.ม. ฐานคอนกรีตกว้าง 114.00 ม.
ประตูเหล็กยกระดับชนิดบานเหล็กโค้ง (RADAIL GALE) ขนาด
(ยาว X สูง) 12.5 x 7.50 ม. จำนวน 8 บาน ระดับสันคันดิน +122.00 ม.รทก.
สถานีสูบน้ำ จำนวนสถานี ชนิดเครื่องสูบ Vertical Mixed Flow
- สถานี P2 อัตราสูบน้ำ 1.70 ลบ.ม./วินาที จำนวน 6 เครื่อง
คลองส่งน้ำสายใหญ่ 1 สาย คลองซอย 17 สาย คลองแยกซอย 25 สาย
- สถานี P4 อัตราสูบน้ำ 0.75 ลบ.ม./วินาที จำนวน 5 เครื่อง
คลองส่งน้ำสายใหญ่ 1 สาย คลองซอย 9 สาย
พื้นที่ชลประทาน 49,200 ไร่
หมายเหตุ - ผลประโยชน์ที่ได้รับ ช่วยยกระดับน้ำและเก็บกักน้ำไว้ในลำน้ำชีและ
ลำน้ำสาขา เป็นระยะทาง 127 กิโลเมตรเก็บกักน้ำได้รวม 56.10 ล้าน ลูกบาศก์เมตร
ช่วยพื้นที่การเกษตรกรรมตามลำน้ำได้ประมาณ 128,023 ไร่ แบ่งเป็น
สถานีสูบน้ำขนาดใหญ่ 49,200 ไร่ และ แพสูบน้ำขนาดเล็ก 78,823 ไร่
และเพื่อการอุปโภค- บริโภค ของประชาชน ตามลำน้ำชี และลำน้ำสาขา
ในเขตพื้นที่จ.ร้อยเอ็ด จ.ยโสธร และ จ.อุบลราชธานี
เขื่อนลำเซบายอุบลราชธานี
ลุ่มน้ำ มูล
ที่ตั้งโครงการ ม.2 บ้านข่าโคม ต.ปะอาว อ.เมือง จ.อุบลราชธานี
พิกัด 48PVB 660982
ระวางแผนที่ 5939 IV
ลักษณะโครงการ เขื่อนกั้นน้ำ บานระบาย ชนิดบาน Radial gate กว้าง 12.50ม.
สูง 5.50ม. จำนวน 5 บาน
ระดับเก็บกัก +113.000 เมตร (รทก.)
สถานีสูบน้ำ สถานีสูบน้ำ PR3 บ้านดงยาง อ.เขื่องใน จ.อุบลราชธานี พื้นที่ชลประทาน 9,480 ไร่
พื้นที่ชลประทาน - ผลประโยชน์ที่ได้รับ ช่วยยกระดับน้ำและเก็บกักน้ำไว้ในลำเซบาย
เป็นระยะทาง 73 กิโลเมตรเก็บกักน้ำได้รวม 13.20 ล้าน ลูกบาศก์เมตร
ช่วยพื้นที่การเกษตรกรรมตามลำน้ำได้ประมาณ 29,380 ไร่ แบ่งเป็น
สถานีสูบน้ำขนาดใหญ่ 9,480 ไร่ และ แพสูบน้ำขนาดเล็ก 19,900 ไร่
และเพื่อการอุปโภค- บริโภค ของประชาชน ตามลำเซบาย
ในเขตพื้นที่ จ.อุบลราชธานี และ จ.อำนาจเจริญ